วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบผสม network

โครงสร้างเครือข่ายแบบผสม (Hybrid Network)

    เป็นการเชื่อมต่อที่ผสนผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน
 เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star
มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่า
และใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งระบบ  Network 
นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tre ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน












ความสำคัญของเครือข่ายคอมพิวเตอร์




          ธรรมชาติมนุษย์ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
 ร่วมกันทำงานสร้างสรรสังคมเพื่อให้ความเป็นอยู่โดยรวมดีขึ้น จากการ
ดำเนินชีวิตร่วมกันทั้งในด้านครอบครัว  การทำงานตลอดจนสังคมและการเมือง
 ทำใหต้องมีการพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เมื่อมนุษย์มีความ
จำเป็นที่จะติดต่อสื่อสารระหว่างกัน    พัฒนาการทางด้านคอมพิวเตอร์จึงต้อง
ตอบสนองเพื่อให้ใช้งานได้ตามความต้องการ  แรกเริ่มมีการพัฒนา
คอมพิวเตอร์แบบรวมศูนย์   เช่น มินิคอมพิวเตอร์ หรือ เมนเฟรม โดยให้ผู้ใช้งานใช้
พร้อมกันได้หลายคน แต่ละคนเปรียบเสมือนเป็นสถานีปลายทาง 
ที่เรียกใช้ทรัพยากร การคำนวณจากศูนย์คอมพิวเตอร์และให้คอมพิว
เตอร์ตอบสนองต่อ การทำงานั้น    




                                                                                                                                                       

ระบบเครือข่ายก็จะเข้ามาแทนระบบคอมพิวเตอร์เดิมที่เป็นแบบรวมศูนย์ได้ 
เครือข่าย คอมพิวเตอร์ทวีความสำคัญและได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะสามารถ
สร้างระบบคอมพิวเตอร์ให้ พอเหมาะกับงานในธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่มีกำลังใน
การลงทุนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงเช่น มินิ คอมพิวเตอร์ ก็สามารถใช้
ไมโครคอมพิวเตอร์หลายเครื่องต่อเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายโดยให้ไมโครคอม
พิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เป็นสถานีบริการที่ทำให้ใช้งานข้อมูลร่วมกันได้เมื่อกิจการ
เจริญก้าวหน้าขึ้นก็ สามารถขยายเครือข่ายการใช้คอมพิวเตอร์โดยเพิ่มจำนวน
เครื่องหรือขยายความจุข้อมูลพอเหมาะกับองค์กรในปัจจุบันองค์การขนาดใหญ่
ก็สามารถลดการลงทุนลงได้โดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงจากกลุ่มเล็ก
 ๆ หลาย ๆ กลุ่มรวมกันเป็นเครือข่ายขององค์การโดยสภาพการใช้ข้อมูลสามารถ
ทำได้ดีเหมือนเช่นในอดีตที่ต้องลงทุนจำนวนมาก  เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาท
ที่สำคัญต่อหน่วยต่างๆ ดังนี้

1.  ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม และสามารถทำงานพร้อมกัน

2.  ให้สามารถใช้ข้อมูลต่างๆ ร่วมกัน ซึ่งทำให้องค์การได้รับประโยชน์มากขึ้น
3.  ทำให้สามารถใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่า เช่น ใช้เครื่องประมวลผลร่วมกัน
 แบ่งกันใช้แฟ้มข้อมูล ใช้เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์ที่มีราคาแพงร่วมกัน
4.  ทำให้ลดต้นทุน เพราะการลงทุนสามารถลงทุนให้เหมาะสมกับหน่วยงานได้
 ข้อดี
-1. สามารถเข้าถึงเครือข่ายที่อยู่ระยะไกลได้
-2. ทำให้การสื่อสารข้อมูลมีประสิทธิภาพ

ข้อเสีย
-1. ดูแลระบบยาก และเสียค้าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูง
-2. โครงสร้างมีความซับซ้อนมีรูปแบบไม่แน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น